วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนี้นอกระบบ

นโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
วิเคราะห์โครงการตามทฤษฎีระบบ
Output
โครงการปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ
Process
มติคณะรัฐมนตรี / นโยบายรัฐบาล
Input
วิกฤติเศรษฐกิจโลกประชาชนได้รับผลกระทบ Environment


Feedback
ประชาชนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ
/ สื่อมวลชน
Input
จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป
เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง พนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ
ปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นปัญหาที่พัวพันกับคนในสังคมหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ลูกจ้าง ข้าราชการ บุคคลหลากหลายอาชีพ ทั้งที่มีรายได้ประจำและไม่ประจำต่าง ๆ สร้างหนี้สิน จนพอกพูนในระดับครัวเรือน ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์หนี้สินเกิดช่องว่างในเรื่องของรายได้และรายจ่าย อันเป็นปัญหาในการจ่ายชำระหนี้ และเปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ยืมบางรายฉกฉวยผลประโยชน์ เนื่องมาจากลูกหนี้มีความจำเป็นต้องจ่ายชำระ แต่รายได้ไม่พอ แบกภาระรายจ่าย ซึ่งบางรายเป็นหนี้ในระบบอยู่แล้ว และมีหนี้นอกระบบอีกด้วย เกิดภาวะต้องตัดสินใจในทางเลือกนอกระบบในอัตราดอกเบี้ยแบบสมเหตุสมผลไปจนถึงดอกเบี้ยโหดเกินจริง ประกอบกับวินัยในการจ่ายชำระเงินคืน ยักย้ายถ่ายเท สลับสับเปลี่ยนกระเป๋า จนทำให้ระบบรวน เกิดการเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืม เกิดสถานการณ์มาเฟียทำร้ายผู้กู้ยืมนอกระบบจริงตามข่าวที่มักปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์
Process
นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสถาบันทางการเงินของรัฐบาลโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
Output
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
Feedback
ประชาชนผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ / สื่อมวลชน



ที่มาของโครงการ
จากวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งพนักงานประจำของภาครัฐและเอกชน ประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย ปัจจัยของปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงานจนทำให้สูญสิ้นรายได้ไป การสร้างทางเลือกให้กับประชาชน ประชาชนเองก็ควรใช้โอกาสที่สำคัญนี้ ในการปลดล็อคแห่งความยากจนของตน โดยคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้สินด้วย ซึ่งหากหน่วยงานรัฐเห็นความสำคัญอย่างแท้จริงควรเปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในอัตราการจ่ายชำระเงินคืน โดยอยู่บนพื้นฐานของรายได้ และความสามารถในการจ่ายด้วย อันจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ก็หวังไว้ว่า “ปัญหาความยากจน และภาวะหนี้สินจะหลุดพ้น” ประชาชน “ตั้งตัวได้” หยุดยั้งปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาเนื่องจากความยากจน ...ประชาชนจะได้มีความสุขในชีวิต...
ปัญหาของประชาชน ที่มีรายได้น้อย หรือรายได้ไม่พอใช้ จนนำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทยเราส่วนหนึ่ง ก็มาจากโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน บางคนอาจเพียงแค่ต้องการมีกินมีใช้ เลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวไปวันๆ บางคนอาจต้องการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน เพื่อขยับฐานะของตน เป็นต้น
ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน โดยการแปลงหนี้นอกระบบ ให้เป็นหนี้ในระบบ โดยให้สถาบันการเงินช่วยปล่อยกู้ให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเหล่านี้ อาจเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
เศรษฐกิจที่ถดถอยดังกล่าว ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มเกษตรกรประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากขายสินค้าหรือผลผลิตไม่ได้ หรือหากขายได้ก็ได้กำไรน้อยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูง หรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งพนักงานบริษัทมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น บางรายเป็นทั้งหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิตควบคู่กันไป จนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอด ที่มาของหนี้นอกระบบจึงเกิดขึ้นจากจุดนี้ เมื่อกลุ่มคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสถาบันการเงินของภาครัฐและเอกชนได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพคล่องในระบบการเงินกำลังตึงตัว ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้นปล่อยกู้ยาก หรือหากจะปล่อยกู้ ผู้กู้ต้องมี หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งประชาชนที่รายได้น้อยนั้นไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ พอที่จะใช้ค้ำประกันได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการที่ประชาชนมีหนี้ในระบบกับสถาบันการเงินอยู่ก่อนแล้ว เช่นกรณีเกษตรกรมีหนี้อยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือประชาชนที่เป็นหนี้ธนาคารและหนี้บัตรเครดิต และไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้นั้นได้ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันหน้าเข้าที่พึ่งสุดท้าย คือ เงินกู้นอกระบบ แม้จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงมากมายแค่ไหน แต่กลุ่มคนระดับรากหญ้าไม่มีทางเลือกอื่น เงินกู้นอกระบบจึงหมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่เป็นการให้กู้ยืมระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูง หรือ เป็นการปล่อยกู้จากผู้ให้กู้เพื่อหวังผลกำไรที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการติดตามทวงหนี้จากผู้ให้กู้นอกระบบส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายด้วยวิธีโหดร้าย ทารุณซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันสัดส่วนของของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และประชาชน 1 ใน 10 คนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยภาครัฐผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐจึงเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มีธนาคารของรัฐเข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวจะปล่อยกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำและมีระยะเวลาผ่อนนาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้นอกระบบครอบคลุมทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยอีกทั้งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจเจรจาลดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้ลูกหนี้กลับมามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงอีกด้วย โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนกับธนาคารรัฐที่เข้าร่วมโครงการทุกสาขาทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1-31 ธ.ค. 2552 ซึ่งมูลหนี้ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 12% ต่อปี โดยให้มีระยะเวลาผ่อนยาวตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี และอาจขยายได้ถึง 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้และรายได้ของผู้กู้ การที่ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบจะเป็นการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเพื่อให้สถาบันการเงินของภาครัฐสามารถเข้าไปบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ต่อไปได้ แต่การดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่สถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐต้องเข้ามาแบกรับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มลูกหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ ลูกหนี้เหล่านี้อาจจะก่อหนี้ NPL เพิ่มขึ้นอีกได้
อย่างไรก็ดี แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบผ่านกลไกของสถาบันการเงินของรัฐนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุกล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากเดิมคือผู้ให้กู้นอกระบบมาเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาซึ่งก็คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งปัญหาแหล่งเงินทุนของกลุ่มคนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาระดับนโยบายที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐบาลควรเร่งพัฒนาและส่งเสริมระบบสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และควรให้สถาบันการเงินต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์การกู้ให้ง่ายขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ไม่ยาก หากประชาชนที่เดือดร้อนเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้โดยง่ายแล้ว การพึ่งพาเงินกู้นอกระบบจะลดน้อยลงหรืออาจหมดสิ้นไปในที่สุด แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลนั้นยังคงยึดตามแนวนโยบายด้านประชานิยมเพื่อเป็นการซื้อใจประชาชนระดับรากหญ้า โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเพื่อสางหนี้นอกระบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่รัฐบาลไม่ได้มองปัญหาในระยะยาวว่า ในอนาคตประชาชนที่ประสบปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอาจกลับไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอีกผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ปัญหาของประชาชน ที่มีรายได้น้อย หรือรายได้ไม่พอใช้ จนนำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบในสังคมไทยเราส่วนหนึ่ง ก็มาจากโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน บางคนอาจเพียงแค่ต้องการมีกินมีใช้ เลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวไปวันๆ บางคนอาจต้องการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ทรัพย์สิน เพื่อขยับฐานะของตน เป็นต้น
ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน โดยการแปลงหนี้นอกระบบ ให้เป็นหนี้ในระบบ โดยให้สถาบันการเงินช่วยปล่อยกู้ให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเหล่านี้ อาจเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอและยังคงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มาตรการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาลอาจเป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ไม่ตรงจุดนักเนื่องจากการมีอาชีพที่มั่นคงและการวางแผนการใช่จ่ายอย่างเหมาะสมไม่ฟุ่มเฟือยเป็นทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมุ่งเน้นการวางนโยบายในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยให้มีหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างงานและปลูกฝังการวางแผนการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเพียงพอกับรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่แน่นอน นอกจากนี้ ปัญหาในเชิงปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้น คือ โครงการช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบดังกล่าวอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้มีการโกงหรือสวมรอยในการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือได้ เช่น ลูกหนี้นอกระบบที่เป็นหนี้พนัน หวย หรือหนี้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่ไม่สุจริต หรือคนที่ไม่ได้เป็นหนี้จริงอาจร่วมมือกันเข้ามาสวมรอยขอสินเชื่อจากโครงการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารรัฐที่ต้องแบกรับภาระหนี้เสีย (NPL) เพิ่มมากขึ้นไปอีก และอาจส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายในอนาคตได้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการคัดกรองคุณสมบัติของลูกหนี้อย่างรัดกุม เพราะการกู้เงินนอกระบบส่วนใหญ่มักไม่มีหลักฐานการกู้เงินที่ชัดเจนที่จะนำมาแสดงได้ รัฐบาลจึงต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ หลักประกัน และคุณสมบัติของลูกหนี้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งวางมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุม และตรวจสอบการอ้างสิทธิโดยไม่เป็นธรรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษด้วยแนวทางแก้ไขปัญหา
การจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนนั้น รัฐบาลควรวางยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่กันไปโดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนในทุกระดับ พร้อมทั้งวางนโยบายระยะยาวในการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีรายได้ และมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยรัฐบาลควรคำนึงถึงปัญหาสำคัญที่จะตามมาจากการดึงหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ คือ การเกิดหนี้ NPL เพิ่มเติมในสถาบันการเงินของภาครัฐ และเร่งวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ควบคู่กันไปด้วย
ประชาชน หรือชาวบ้านเหล่านี้ หลายท่าน ก็ทราบดีอยู่แล้ว พวกที่ปล่อยกู้ ร้อยละ 20 คิดดอกเบี้ยแพงเกินไป แต่หลายคนก็จำเป็นต้องกู้ยืม ด้วยเหตุผลความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ความเดือดร้อนเรื่องเงินทอง ของประชาชนที่มีรายได้น้อยและไม่พอใช้ แม้รัฐบาล จะยอมหลงลืมหลักนิติรัฐไปบ้าง ก็อาจเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าประชาชนหรือชาวบ้านเหล่านี้ เดือดร้อนเรื่องเงินอีก รัฐบาลก็จะหาวิธีการให้สถาบันการเงินเหล่านี้ ปล่อยกู้ให้ประชาชน ต่อได้อีกหรือ